วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกที่ 4

จังหวะตบที่ 1 ดีดลง จังหวะยกที่ 1 ดีดขึ้น
จังหวะตบที่ 2 ดีดลงพร้อมอุดสาย จังหวะยกที่ 2 ดีดลง1ที ดีดขึ้น1ที
จังหวะตบที่ 3 ดีดลง จังหวะยกที่ 3 ดีดขึ้น
จังหวะตบที่ 4 ดีดลงพร้อมอุดสาย จังหวะยกที่ 4 ดีดลง1ที ดีดขึ้น1ที


ดีดลงพร้อมอุดสาย คือ ดีดลงไป พร้อมกับใช้สันมือขวาวางทับลงบนสายกีต้าร์ทั้งหมด เพื่อทำให้เสียงที่ดีดสั้นลง
คอร์ด ที่ใช้ฝึกเราอาจเปลี่ยนเป็นคีย์อื่นก็ได้นะครับ เปลี่ยนเป็นคีย์ F หรือ คีย์ G ก็ได้ครับ

คีย์ C : C Am Dm F G

คีย์ F : F Dm Gm Bb C

คีย์ G : G Em Am C D

แบบฝึกนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เล่นกับเพลงแนวโฟล์คซองคันทรี่ตะวันตกได้ครับ ไม่ว่าจะเพลงช้าหรือเร็ว หรือใช้เล่นสลับกับแบบฝึกที่ 3 เป็นการเพิ่มสีสันในการเล่นคอร์ดครับ

สำหรับผู้ที่ตั้งใจว่าจะฝึกคอร์ดให้ชำนาญก่อนแล้วค่อยโซโลนั้น ผมขอเสนอแนะเกี่ยวกับการดีด หรือตีคอร์ดให้ได้ครบทุกเสียงในคอร์ด ทั้งเสียงเบส(ทุ้มสาย5 สาย6) เสียงกลาง(สาย4 สาย3) เสียงแหลม(สาย2 สาย1) กรณีที่เล่นกีต้าร์ตัวเดียวจะทำให้เสียงที่ได้การเล่นออกมาอย่างครบ ไม่ก๋องแก๋ง

เสียงเบสที่ของคอร์ดนั้นๆก็คือ โน้ตที่เป็นรากของคอร์ด เช่น คอร์ดC ประกอบด้วยโน้ต C E G หรือ โด มี ซอล รากของคอร์ดC ก็เท่ากับ Cหรือโด
















ผมขออนุญาตสรุปรากคอร์ด หรือเสียงเบสของแต่ละคอร์ดมาให้ฝึกเน้นกัน ดังนี้







คอร์ด/เบส


คอร์ดC/Cm=โด

คอร์ดD/Dm=เร
คอร์ดE/Em=มี

คอร์ดF/Fm=ฟา


คอร์ดG/Gm=ซอล


คอร์ดA/Am=ลา


คอร์ดB/Bm=ที








โน้ตบนคอกีต้าร์ก็เรียงตามนี้นะครับ อักษร C =โด D =เร E =มี F =ฟา G =ซอล A =ลา B =ที

ส่วนเฟร็ตที่ไม่ได้ใส่โน้ตไว้ ก็คือเป็นโน้ตครึ่งเสียงครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะอ้างอิงโน้ตตัวไหน อย่างเช่น สายที่ 1 เฟร็ตที่สอง ถ้าอ้างอิงเฟร็ตที่1(F) ก็จะเป็นโน้ตที่สูงขึ้นครึ่งเสียงคือ F# แต่ถ้าอ้างอิงเฟร็ตที่3(G) ก็จะเป็นโน้ตที่ต่ำลงครึ่งเสียงคือ Gb

หมายเหตุ** เครื่องหมาย # สูงขึ้นครึ่งเสียง เครื่องหมาย b ต่ำลงครึ่งเสียง

2 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. ครับผม ขอบคุณที่แวะอ่านครับ ว่างๆเดี๋ยวกลับมาอัพเดทบล็อกต่อครับ

      ลบ